หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาท่าน้ำ
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาท่าน้ำ
ที่ตั้ง โรงพยาบาลศิริราช ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ หอประชุมราชแพทยาลัย ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ ศาลาท่าน้ำ
ออกแบบโดย หลวงวิศาลศิลปกรรม ผู้ครอบครอง โรงพยาบาลศิริราช
ปีที่สร้าง หอประชุมราชแพทยาลัย พ.ศ. 2495 ศาลาท่าน้ำ พ.ศ. 2466
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2549
ประวัติ
โรงพยาบาลศิริราชเป็นสถาบันทางการแพทย์แห่งแรกของไทย ถือกำเนิดขึ้นโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นคอมมิตตี(Committee) จัดการโรงพยาบาลรักษาคนป่วยไข้ให้เป็นทานแก่ประชาชนทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2429ขณะที่คอมมิตตีกำลังดำเนินงาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรคบิด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 หลังจากที่พระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ไม้และวัสดุที่ได้จากการก่อสร้างพระเมรุ ได้นำมาใช้ก่อสร้างอาคารกลุ่มแรกของโรงพยาบาล ซึ่งก่อสร้างขึ้น ณ บริเวณวังหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า โรงศิริราชพยาบาล และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431
ศาลาท่าน้ำแต่เดิมเป็นอาคารไม้ หลังคาจั่ว ต่อมาในปี พ.ศ.2466 เมื่อเริ่มมีการปรับปรุงโรงพยาบาล ได้มีการก่อสร้าง ศาลาท่าน้ำใหม่ ออกแบบโดยหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบคลาสสิครีไววัล (Classic Revival) ลักษณะเป็นศาลาโล่ง หลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว โดยมีการนำเอาลักษณะ Palladian motif มาใช้ และมีโป๊ะเป็นคอนกรีตศาลาท่าน้ำเป็นอาคารเก่าที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงพยาบาลศิริราชหลังหนึ่ง เป็นที่ซึ่งเคยเป็นที่สัญจรไปมาของผู้คนเพราะประชาชนทั่วไปใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลักโดยเฉพาะก่อนปี พ.ศ. 2475 ผู้ป่วยทางฝั่งพระนครจะเดินทางมาโรงพยาบาลศิริราชได้โดยทางน้ำเท่านั้น
หอประชุมราชแพทยาลัยได้ก่อสร้างขึ้นหลังจากการฉลอง 60 ปีศิริราช ณ บริเวณริมน้ำ เพื่อใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ ทั้งประชุม จัดงาน สอบ และเล่นกีฬา ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลได้ตั้งชื่ออาคารนี้ว่า หอประชุมราชแพทยาลัย เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงโรงเรียนราชแพทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอประชุม และพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2495
ปัจจุบันภายในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชมีการก่อสร้างตึกใหม่ทดแทนตึกเดิม เพื่อให้รองรับกับความต้องการของผู้ป่วยที่มีจำนวนมากมาย ทำให้อาคารดั้งเดิมส่วนใหญ่ถูกรื้อถอนเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ยังคงมีอาคารที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของโรงพยาบาล รวมถึงศาลาท่าน้ำยังคงอนุรักษ์ไว้ตามแบบเดิม แม้ว่าจะได้ปรับปรุงเปลี่ยนส่วนโป๊ะและสะพานเป็นเหล็กให้แข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น ส่วนหอประชุมราชแพทยาลัยก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและเป็นหนึ่งในอาคารอนุรักษ์ของโรงพยาบาลศิริราช
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
-
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
-
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
-
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
-
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
-
หอประชุมราชแพทยาลัยและศาลาริมน้ำ
Siriraj Hospital
Location Phran Nok Road, Khwaeng Siriraj, Khet Bangkok Noi, Bangkok
Architect / Designer Ratchaphaettayalai Hall by Prof. M.C. Wothayakon Worawan Waterside Pavilion by Luang Wisansinlapakam
Proprietor Siriraj Hospital
Date of Construction Ratchaphaettayalai Hall 1952 Waterside Pavilion 1923 Conservation Awarded 2006
History
Siriraj Hospital, Thailand’s first medical institution, was initiated by the gracious kindness of HM King Chulalongkorn (Rama V) who had set up a committee comprising of royal family members and officials to establish a hospital for public service on 26th March, 1886. While the committee was working on this project, H.R.H. PrinceSirirajkakuthaphan, son of King Rama V, passed away from dysentery. Wood andmaterials from his Royal Funeral Pyre construction were taken to build the first buildings of the hospital in Wang Lang area and King Rama V named the hospital “Rong Siriraj Phayaban” (Siriraj Hospital), and presided over the opening ceremony on 26thApril, 1888.
Sala Tha Nam (Waterside Pavilion)
Sala Tha Nam was originally a wooden pavilion with gable roof. During a major renovation of the hospital in 1923, the pavilion was rebuilt and designed by Luang Wisan Silapakam (Chuea Pattamajinda).
Being influenced from Classic Revival architecture, it is an open building, hipped roof finished with kite shaped concrete roof tiles, along with application of Palladian Motif and concrete floating platform. The pavilion became a symbol of Siriraj Hospital and was originally a pier serving general people who traveled across the river by ferry boats, especially prior to 1932 when the hospital was only accessible by water route.
Ratchaphaetthayalai Hall
Constructed beside the river after the 60th Anniversary celebration of Siriraj Hospital, Ratchaphaetthayalai has served as a multi-purpose hall for various functions such as conference, ceremony, examination, and sports competitions. The building was designed by Professor Mom Chao Wothayakon Worawan in contemporaryThai style and the Faculty of Medicine Siriraj Hospital named the building “Ratchaphaetthayalai Hall” as a memorial to the Royal Medical School founded in the reign of King Rama V. Furthermore, HM King Bhumibol Adulyadej presided over its opening ceremony and conferred academic degrees on the graduation ceremony at the hall for the first time on 19th June, 1952.
At present Siriraj Hospital is crowded with new buildings due to the increasing number of patients and many old buildings were demolished. However, some of the original buildings still exist and have been well-conserved as the testimony to the hospital’s long establishment.