อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

บ้านพิบูลธรรม (บ้านนนที)

บ้านพิบูลธรรม (บ้านนนที)

ที่ตั้ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 (ริมสะพานกษัตริย์ศึกต่อสะพานยศเส) แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ ตึกกลาง ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อผู้ออกแบบ ตึก 3 ชั้น ออกแบบโดย แอร์โกเล มันเฟรดี

ผู้ครอบครอง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

ปีที่สร้าง ประมาณปีพ.ศ. 2440

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2549

ประวัติ

บ้านพิบูลธรรม เดิมเรียกว่าบ้านนนทีก่อสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานบ้านนนทีให้กับพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยา ธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีกระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งในปี พ.ศ. 2456 พระองค์ได้พระราชทานเงินให้ก่อสร้างตึก 3 ชั้น อีกหลัง มีสะพานเชื่อมติดต่อกับอาคารหลังแรก พร้อมตกแต่งบริเวณและอาคาร หลังเดิม สถาปนิกผู้ออกแบบ คือ นายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) นายกาเล็ตตี เป็นวิศวกร นายฟอร์โน ช่วยออกแบบลวดลาย นายดองชอง ช่างชาวเซี่ยงไฮ้เป็นผู้แกะสลักลวดลายร่วมกับช่างไทย ส่วนงานจิตรกรรมฝาผนังและเพดานดำเนินการโดยศาสตราจารย์ริโกลี การก่อสร้างใช้เวลา 1 ปีเศษใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 150,000 บาทเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาทอดพระเนตรและประทับค้างคืนในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2463

ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านนนทีได้ถูกระเบิดเสียหายอย่างหนักเกินจะซ่อมแซมได้ ทางเจ้าของบ้านจึงเสนอขายโดยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้อนุมัติให้ซื้อไว้ในปี พ.ศ. 2498 และได้ปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ซึ่งก็ได้มีบุคคลสำคัญมาพักหลายท่าน อาทิ พระยากัลยาณไมตรี นายริชาร์ด นิกสัน เมื่อครั้งยังเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประธานสหภาพพม่า เสด็จเจ้าสุวรรณภูมาแห่งราชอาณาจักรลาว เป็นต้น และบ้านนนทีได้รับขนานนามใหม่ว่า บ้านพิบูลธรรม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 บ้านนนทีได้รับอนุมัติให้เป็นที่ทำการของการพลังงานแห่งชาติ และได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มาเป็นลำดับ และสังกัดกระทรวงพลังงานจนถึงปัจจุบัน

บ้านพิบูลธรรมส่วนตึก 3 ชั้น เป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค รีไววัล (Classic Revival) มีลักษณะเด่นนอกจาก ตัวสถาปัตยกรรมแล้ว ยังได้แก่การตกแต่งที่มีอย่างครบถ้วน ทั้งการแกะสลัก ประติมากรรม และจิตรกรรม ซึ่งองค์ประกอบ ส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลศิลปะเรอเนสซองส์ อาทิ มีการประดับรูปหัววัวนนทิการตามชื่อ บ้านนนที ที่กรอบประตูและตามส่วนต่างๆ ของอาคาร เพดานห้องต่างๆ ตกแต่งด้วยไม้แกะสลักประกอบภาพจิตรกรรมอย่างงดงามมีทั้งลวดลายแบบตะวันตกและภาพจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ภาพนางเมขลาและรามสูร วาดแบบจิตรกรรมตะวันตก นอกจากนี้ก็มีการตกแต่ง ด้วยลวดลายเครือเถาดอกไม้และผลไม้ สวยงามน่าชมอย่างยิ่ง

บ้านพิบูลธรรมได้รับการบูรณะในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2547 โดยกรมศิลปากร ทำให้อาคารยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี

 

 

Ban Nonthi (Ban Phibuntham)

Location 17, Rama I Road (at the corner of Kasatsuek Bridge and Yotse Bridge), Khwaeng Rong Mueang, Khet Pathumwan, Bangkok

Architect / Designer Central Building : no information 3-storey Building : Ercole Manfredi

Proprietor Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy

Date of Construction 1897

Conservation Awarded 2006

History

Ban Nonthi (Nonthi house) was built circa 1897 and given to Phraya Anurakratchamonthian (Mom Ratchawong Pum Malakul) by King Rama V. Later in 1913, building extension and landscape development were carried out from King Rama VI’s grant. In collaboration of Mr. Ercole Manfredi (architect), Mr. Galetti (engineer), Mr. Forno (artist), Mr. Dong Chong (craftsman) cooperating with Thai craftsmen, and Professor Rigoli (walls and ceilings painter), a new 3-storey building was set up within roughly 1 year on the budget of 150,000 Thai bahts.

During the second world war, in 1941, Ban Nonthi was seriously damaged by explosions. Therefore, the government of General P. Phibunsongkhram approved the transaction to buy this house in 1955, having it restored and converting to a reception hall for state visitors. Some of the vital guests who had visited are Phraya Kallayanamaitri, Mr. Richard Nixon (when he was the Vice President of the United States), the President of Myanmar, Sadet Chao Suwanphuma of the Kingdom of Laos, etc., and Ban Nonthi was renamed “Ban Phibuntham”. In 1959, it was assigned to the National Energy Office which became a part of Ministry of Energy at present.

Ban Nonthi (Nonthi House) represents Classic Revival architecture and features exquisite decorations in forms of carvings,sculptures and paintings, mostly influenced by Renaissance art. Distinctive elements are the display of Nondi (name of a bull, vehicle of Shiva) bull’s heads at door frames and other parts of the house, ceilings decorated with wood carvings and paintings of both Western pictures and depictions of Thai stories, such as Ramayana and Mekhla and Ramasura, painted in Western techniques, as well as magnificent floral and fruit designs.

Major restoration of Nonthi House was carried out during 2003 – 2004 by the Fine Arts Department in order to preserve the historical and architechtural notablility of this house.