อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

พิพิธภัณฑ์เรือ วัดยาง ณ รังษี

 พิพิธภัณฑ์เรือ วัดยาง ณ รังษี

ที่ตั้ง  วัดยาง ณ รังษี  หมู่ 2  ตำบลตะลุง  อำเภอเมือง  จังหวัดลพบุรี 

 สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นายปั่น  แตงปู  ช่างไม้ในท้องถิ่น

ผู้ครอบครอง  วัดยาง ณ รังษี 

ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2470 

 ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2536

 ประวัติ

 พิพิธภัณฑ์เรือ วัดยาง ณ รังษี  เป็นศาลาโถงทรงไทยใต้ถุนสูงแบบภาคกลาง  ขนาดกว้าง 12.30 เมตร  ยาว 26 เมตร  หลังคาซ้อน 2 ชั้น 3 ตับ  ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกลายเทพารักษ์นั่งในซุ้ม  ท้องลายสลักเป็นรูปเทพนมประกอบลายก้านขด  พื้นอาคารเป็นไม้กระดาน มีราวลูกกรงล้อมรอบอยู่โดยรอบ

เดิมอาคารหลังนี้เป็นศาลาการเปรียญของวัดยาง ณ รังษี  ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม  ใน พ.ศ. 2525 ทางวัดดำริจะรื้อทิ้งเพื่อสร้างศาลาใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  ทางชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรีได้ทราบเรื่องจึงขอให้ทางวัดเก็บรักษาไว้  ใน พ.ศ. 2529 ได้มีการทอดผ้าป่าเพื่อหาทุนบูรณะอาคารจากนั้นได้ปรับการใช้สอยอาคารเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน  ซึ่งเป็นเรือที่รวบรวมจากทางวัด ชาวบ้าน และเรือที่ซื้อมาเพิ่มเติม  ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นวิถีชาวบ้านที่ผูกพันอยู่กับน้ำ  และเพื่ออนุรักษ์เรือพื้นบ้านรูปแบบต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเมื่อเลิกใช้แล้วมักจะถูกทิ้งให้ทรุดโทรม 

 พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านนี้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531  และได้มีการปรับปรุงครั้งหลังสุดเมื่อปี พ.ศ. 2543โดยมีการสร้างอาคารเพิ่มเติมเพื่อเป็นที่จัดแสดง  จำหน่ายผลิตผลของราษฎรและของที่ระลึก และปรับปรุงภูมิทัศน์

 

 Wat Yang Na Rangsi Boat Museum

 Location Wat Yang Na Rangsi, Mu 2, Tambon Talung, Amphoe Mueang, Lop Buri Province

Architect/Designer Mr. Pan Taengbu, a local carpenter

Proprietor Wat Yang Na Rangsi 

Date of Construction 1927 AD. 

 Conservation Awarded 1993 AD.

 History

 Wat Yang Na Rangsi Boat Museum is an open pavilion in Central Thai style. Its size is 12.50metres by 26 metres. The roof is 2-tiered and 3 planed, with traditional decorative element such as Cho FA, Bai Raka, and Hang Hong. Pediments are decorated with glided woodcarvings and coloured glass mosaic. The floor is made of wooden planks and surrounded by balustrades.

This building was an old Sala Kan Parian (Gathering Hall) that was in a ruinous state. At first, the temple planned to demolished it and replace with a new concrete building, however, the Lop Buri Monument an Environment Conservation Club initiated on conservation of the building. Thus a campaign for funding was raised in 1986, that was well-cooperated and successful. After restoration, the building has been converted as a museum of local boats with exhibition on local ways of life and local boats of various types that are becoming rare.

 This museum has opened for visitors since 1988. In 2000, a new exhibition hall and souvenir shop were built and landscape development was carried out.