อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ตึกกลมคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

ตึกกลมคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 

 ที่ตั้ง เลขที่ 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

 สถาปนิก / ผู้ออกแบบ อมร ศรีวงศ์

 ผู้ครอบครอง มหาวิทยาลัยมหิดล

 ปีที่สร้าง พ.ศ. 2508

 ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2553

 ประวัติ

 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดิมมีสถานะเป็นโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัย แพทย์ศาสตร์ มีศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ปูชนียบุคลสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยเป็นผู้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503แล้วได้ยกฐานะเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะวิทยาศาสตร์ตามลำดับ มีนักศึกษารุ่นแรกมีจำนวน 65 คน ในครั้งแรกดำเนินการเรียนการสอนที่ตึกเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 ต่อมาได้ย้ายสถานที่ตั้งมาพื้นที่บนถนนพระรามที่ 6ตรงข้ามกระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับอนุมัติงบประมาณสร้างอาคารบรรยายกับอาคารทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เป็นสถานที่เรียนสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2508 เมื่อชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ชุมชนแออัดสะพานเสาวนีย์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้สั่งการให้เทศบาลนำขยะมาถมจนเต็มพื้นที่แล้วก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งก็คือ อาคารเรียนตึกกลม พร้อมไปกับการก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีนายอมร ศรีวงศ์ เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ ตึกกลมหลังนี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น 4 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2508 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511

 ตัวอาคารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือ เป็นทรงกลมเมื่อมองจากด้านบน และเมื่อมองจากด้านข้างจะมีลักษณะคล้ายกับจานบิน โดยแนวคิดการออกแบบเพื่อต้องการให้ทุกๆ ตำแหน่งของอาคารสามารถ ได้ยินและมองเห็นเท่าเทียมกันทุกจุด ตึกกลมเป็นอาคารเรียนขนาด 1,500 ที่นั่ง ประกอบด้วยห้องบรรยายใหญ่ 1 ห้อง ความจุ 500 ที่นั่ง และห้องบรรยายเล็ก 4 ห้อง ความจุห้องละ 250 ที่นั่ง ด้านล่างอาคารเป็นโถงขนาดใหญ่ และมีลานกว้างรอบตึก นอกจาก ตึกกลมจะใช้เพื่อการเรียนการสอนแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมในวาระโอกาสพิเศษต่างๆ ของคณะ เช่น พิธีไหว้ครูประจำปี งานปาฐกถาพิเศษ งานประชุมวิชาการต่างๆ เป็นต้น ตึกกลมได้รับการดูแลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะประวัติศาสตร์ของคณะ

 

 Tuek Klom (Lecture Building), Faculty of Science, Mahidol University

 Location 272 Rama VI Road, Khet Ratchathewi, Bangkok

 Architect / Designer Mr. Amon Sriwong

 Proprietor Mahidol University

 Date of Construction 1965

 Conservation Awarded 2010

 History

 The Faculty of Science at Mahidol University, formerly a school of Medicine and Faculty of Medical Science, was established in 1960 by a venerable scientist in Thailand, Professor Dr. Stang Mongkolsuk. There were sixty five students when classes were first held in the Medical Techniques building of Chulalongkorn Hospital. Later it was relocated to the Rama VI Road, opposite to the Ministry of Industry, and was also subsidized the budget to construct a lecture building and science laboratories for students of the Faculty of Science.

 Tuek Klom at the Faculty of Science in Mahidol University was constructed in 1965 within an area used to be a slum community around Saowani Bridge. When people in the community moved out, Field Marshal Sarit Thanarat, the Prime Minister at that time, commanded the municipality to convert the land into Tuek Klom and construct the Ramathibodi Hospital. The architect was Mr. Amon Sriwong and its total budget of construction was about four million bahts, supported by Thai government and Rockefeller Foundation. His Majesty King Bhumibol Adulyadej presided over the laying of its Foundational Stone ceremony on 19th August 1965 as well as the opening ceremony on 26th February 1968.

 Featuring modern and exceptional architecture, the building has a round shape when viewed from above and resembles a flying saucer if viewed from its side. The concept of this design is to create an open space in which the surroundings can be audible and visible expansively from every part of the building. This lecture building provides 1,500 seats, containing one large 500-seat room and four 250-seat rooms. Furthermore, there is a large hall downstair and an open space around the building. Additional to the intended purpose of lecturing, it also serves for various faculties’ activities such as Wai Kru ceremonies, special speeches and academic conferences.

 Tuek Klom has been well-preserved by Faculty of Science at Mahidol University as the historic building whose distinguished design represents the widely recognized Late Modernist Architecture.