อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ตึกถาวรวัตถุ (อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ตึกถาวรวัตถุ (อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ที่ตั้ง ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ผู้ครอบครอง กรมศิลปากร

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2438 – 2459

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2550

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยมีพระราชดำริว่า การก่อสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ในการ พระราชพิธีพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ตามพระราชประเพณี ซึ่งเป็นอาคารชั่วคราวนั้นเป็นการสิ้นเปลืองมากควรสร้าง ถาวรวัตถุสถานขึ้นเพื่อใช้ในการพระราชพิธีดังกล่าว เมื่อเสร็จงานแล้วสามารถใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้ต่อไป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นปีที่ทรงครองสิริราชสมบัติมาครบหนึ่งหมื่นวัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบอาคารถาวรวัตถุ มีพระยาสโมสรสรรพการ(ทัด ศิริสัมพันธ์) เป็นนายงานควบคุม การก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2439แต่มีอุปสรรคบางประการทำให้การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จมาจนสิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จ พระราชทานให้เป็นที่ตั้งถาวรของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับ พระนคร และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอพระสมุดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2459

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 หนังสือในหอพระสมุดมีมากขึ้น จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แยกหอพระสมุดสำหรับพระนครออกเป็น 2 แห่งคือ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ย้ายจากตึกถาวรวัตถุไปตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในพระบรมมหาราชวัง ส่วนตึกถาวรวัตถุให้ใช้เป็นที่จัดเก็บหนังสือส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หนังสือตัวพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิราวุธ ในปี พ.ศ. 2476 งานหอพระสมุดยกฐานะเป็นกองหอสมุด สังกัดกรมศิลปากรและมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง จนปี พ.ศ.2508 อาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี สร้างแล้วเสร็จ จึงได้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดวชิรญาณและหอพระสมุดวชิราวุธไปที่อาคารใหม่ ในปี พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรได้ปรับปรุงอาคารบางส่วนเป็นที่ตั้งศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยสังคมศาสตร์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และเป็นที่ทำการของกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร

ลักษณะอาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนอย่างมั่นคงและสง่างาม ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมอิทธิพลศิลปะเขมร คล้ายโคปุระของปราสาทหิน ประกอบด้วยซุ้มจัตุรมุข 3 ซุ้ม หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย

ตึกถาวรวัตถุได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ต่อมามีการปรับปรุงหน่วยงานต่างๆ ภายใน กรมศิลปากร ที่ทำการกองสถาปัตยกรรมและศูนย์นราธิปได้ย้ายออกไปจากตึกถาวรวัตถุ ในปี พ.ศ. 2540กรมศิลปากรจึงได้มีโครงการบูรณะปรับปรุงตึกถาวรวัตถุ เป็นอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาส 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป

Thawon Watthu Building (King Chulalongkorn Memorial Exhibition Building)

Location Na Phra That Road, Khet Phra Nakhon, Bangkok

Architect / Designer H.R.H. Prince Krommaphraya Narisaranuwattiwong

Proprietor Fine Arts Department

Date of Construction 1895 - 1916

Conservation Awarded 2007

History

Thawon Watthu Building was constructed by the initiation of King Rama V who considered the royal cremation ceremony requiring construction of an enormous temporary cremation hall was rather a waste. His idea was to build a permanent building which could be used to serve other functions after the cremation ceremony. Accordingly, in 1895, the occasion of 10,000 Days Anniversary of the King’s Accession to the Throne, King Rama V had H.R.H. PrinceKrommaphraya Narisaranuwattiwong designing Thaworawatthu Building and Phraya Samosonsapphakan (That Sirisamphan) was in charge of the construction. King Rama V presided over the Foundation Stone Laying Ceremony on 13th September 1896.

Certain obstacles had delayed the construction until the King Rama V passed away. King Rama VI then had the work completed and assigned the building as the permanent location of Ho Phra Samut Wachirayan (Wachirayan Royal Library), officially opened by the King on 6th January 1916. In the reign of King Rama VII, the amount of books in the library has greatly increased. Therefore, the King had the library separated into 2 places, Wachirayan Library and Thawon Watthu Building. Wachirayan Library was moved to Siwamokkhaphiman Throne Hall in the Grand Palace to preserve religious scriptures, archives, and hand-written documents.Thawon Watthu Building was assigned for keeping books which belonged to King Rama VI, printed books and newspapers, and the library was renamed “Ho Phra Samut Vajiravudh” (Vajiravudh Royal Library).

In 1933, the Royal Library Office was promoted to Department of Library under the Fine Arts Department and there were several changes after the reorganization until the construction of National Library at Wasukri Pier was completed. Hence all books from Wachirayan Library and Vajiravudh Royal Library were moved to the new building. In 1979, Fine Arts Department had some parts of the building renovated to function as Narathip Centre for Social Science Research in Commemoration of Prince Krommamuen Narathipphongpraphan, and also serve as an office of Architecture Division of the Fine Arts Department.

The architecture of Thawon Watthu Building is a manifestly dignified brick masonry building with Khmer influenced style as seen in the gallery of Angkor Wat, adorned with elements such like 3 four-faced porticos and curved tiled roof. Thawon Watthu Building was registered as a NationalMonument on 30th June 1977. After Fine Arts Department has reorganized its offices, the Architecture Division and Narathip Centre were moved out from Thawon Watthu Building. Subsequently, in 1997, the Fine Arts Department has renovated Thawon Watthu Building as King Chulalongkorn Memorial Exhibition Hall to commemorate the 100th Anniversary of King Rama V’s Royal Visit to Europe.