อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

กลุ่มอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัย (ตึกแถวใจกลางเมือง) จังหวัดภูเก็ต

กลุ่มอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัย (ตึกแถวใจกลางเมือง) จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ถนนภูเก็ต ดีบุก พังงา กระบี่ ถลาง เยาวราช ระนอง รัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -

ผู้ครอบครอง เจ้าของอาคารในชุมชน

ปีที่สร้าง รัชกาลที่ 4 – รัชกาลที่ 7

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2536

ประวัติ

ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางแร่ดีบุกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มาเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่หม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ โดยอังกฤษไปตั้งตลาดรับซื้อแร่อยู่ที่เกาะหมาก หรือปีนัง ชาวภูเก็ตจึงมีตลาดรับซื้อแร่ ธุรกิจเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแค่ราวสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 4 คนภูเก็ตก็เริ่มเป็นเศรษฐีกันแล้ว และสืบต่อมาจนถึงยุค “นายเหมือง” สมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้สร้างบ้านเรือนร้านค้ากันขึ้นเป็นปึกแผ่น โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตในยุคนั้น ได้วางแนวทางการผังเมืองที่เหมาะสมกับภูเก็ต อาทิ การกำหนดให้ห้องแถวก่อสร้างโดยร่นระยะผนังชั้นล่างเข้าไปหลังทิวซุ้มโค้ง (Arcade) เพื่อใช้ที่ว่างด้านหน้าเป็นทางเดินกันแดดกันฝน การวางท่อระบายน้ำขนาดใหญ่เสียบถนนทุกสายในเมือง เพื่อป้องกันน้ำท่วม อันยังปรากฏอยู่ปัจจุบัน

ในด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมนั้น ตึกแถวในเมืองภูเก็ตมีอายุสมัยราว 60 -100 ปี ได้รับอิทธิพลจากปีนังและสิงคโปร์ เป็นแบบจีนผสมยุโรปที่รู้จักกันทั่วไปว่า ชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) ทั้งนี้เนื่องจากภูเก็ตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองทั้งสองในด้านธุรกิจ อีกทั้งเศรษฐีภูเก็ตนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนที่ปีนัง เพื่อให้ได้ทั้งความรู้ และสามารถใช้ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ได้คล่องแตล่าว จึงมีส่วนให้ความนิยมต่างๆ แบบปีนังและสิงคโปรร์แพร่เข้ามาสู่ภูเก็ตรวมทั้งแบบอย่างที่อยู่อาศัยด้วย

อาคารตึกแถวใจกลางเมืองดังกล่าว อาจจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ตึกแถวรุ่นแรกลักษณะเรียบง่าย 2 ชั้นหรือชั้นครึ่ง ไม่มีการตกแต่งมากนัก เป็นรูปแบบจีนอย่างเรียบง่าย แบบที่ 2 คือแบบจีนที่มีการตกแต่งประดับประดาอย่างเต็มที่ แบบที่ 3 คือแบบจีนผลสมยุโรปดังกล่าวเป็นแบบที่พบมากที่สุด โดยรวมคือมีโครงสร้างหลักเป็นแบบจีน ช่องเปิดและคิ้วบัวอย่างฝรั่ง และอาจมีลวดลายจกแจ่งแบบจีนหรือฝรั่งปรากฏอยู่ด้วย ส่วนแบบสุดท้ายคือแบบฝรั่งที่ได้รับอิทธิพลอาร์ตเดโค การตกแต่งเรียบง่ายขึ้น มักมีการใช้ลวดลายเราขาคณิตเข้ามาประกอบ อาคารกลุ่มนี้ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก อายุสมัยช่วง 60 – 70 ปี

เป็นที่น่ายินดีที่อาคารตึกแถวใจกลางเมืองส่วนใหญ่ยังได่รับการอนุรักษ์ไว้ และยังคงใช้งานอยู่ โดยทั้งชาวภูเก็ตและหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมศิลปากร มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฯลฯ สนับสนุนในการดูแลรักษา แต่ที่สำคัญที่สุดคือเจ้าของบ้านเหล่านี้ยังเห็นคุณค่า และร่วมมือกันอนุรักษ์ไว้ให้ทุกคนได้ชื่นชมต่อไป

  

Shops and Houses of Phuket City Centre (Ancient Row houses)

Location Phuket, Dibuk, Phang Nga, Krabi, Thalang, Yaowarat, Ranong, Rasada Road, Amphoe Mueang, Phuket Province

Architect/Designer Unknown

Proprietor Private Owners

Date of Construction from King Rama IV – King Rama VII periods

Conservation Awarded 1993 AD

History

Phuket was well known as an important source of tin since Ayutthaya period, however, its rapid development occurred after Burma was defeated by the British that a tin market was founded in Penang, very near to Phuket. Thus, in early Rattanakosin period, Phuket began to gain a considerable prosperity. The prime time was during King Rama V’s reign when people were wealthy and the town stably settled. Phraya Rasadanupradit (Kho Sim Bi Na Ranong), the Governor of Monthol Phuket, had laid out a master plan for Phuket development i.e. the design of row houses with a front arcade in order to make a shelter for pedestrians, building of large gutters along every road to prevent the town from being flooded, etc. His works still exist as seen today.

The architecture of Phuket row houses are influenced by those of Penang and Singapore, the Sino-Portuguese style. This was resulted from the affinity between Phuket and those towns. It was also a fashion for wealthy families to send their sons and daughters to study in Penang in order to gain fluency in foreign languages, especially English and Chinese. Thus familiarity with Penang and Singapore styles was comprehensible. The row houses in the city centre may be categorized into 4 main groups. The first, the earliest type is characterized by building of one or one and a half storey, Chinese style, with elaborate decoration in Chinese designs and motifs. The third is the Sino-Portuguese style, the most frequently found, which is a mixture of Chinese structure and European details. The last type is the European Art Deco style, which has rather simplified, or geometric decorative patterns. This last and youngest group is reinforced concrete structured which dates 60 – 70 years. Most of the historic buildings in the heart of Phuket have been conserved and used, which is a great success in terms of conservation. The Phuket people as well as several organizations have collaborated in conservation; however, the owners have the highest credit for their awareness of the value of their properties, and their willingness to keep them to last into the future.