อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

วิหารคริสตจักรตรัง

วิหารคริสตจักรตรัง

ที่ตั้ง เลขที่ 24 ถนนห้วยยอด ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 

ผู้ครอบครอง คริสตจักรตรัง 

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2458 

ปีที่ได้รับรางวัลพ.ศ. 2552 

ประวัติ 

จังหวัดตรังเป็นหัวเมืองทางภาคใต้ซึ่งมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ประชากรเหล่านี้นับถือศาสนา กันอย่างหลากหลาย เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ซึ่งผู้นับถือส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ศาสนาคริสต์นิกายโปรเเตสแตนท์ในจังหวัดตรังเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2453 ได้มีการก่อตั้งสถานีประกาศขึ้นโดยได้รับ การสนับสนุนจากคณะมิชชันนารีอเมริกัน โดยใช้สถานที่ที่โรงพยาบาลทับเที่ยง แล้วตั้งเป็นคริสตจักรในอีก 2 ปีถัดมา ในปี พ.ศ. 2456 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอนุญาตให้ทางคริสตจักรซื้อที่ดินและสร้างโบสถ์ขึ้น ตัวโบสถ์สร้างด้วย ไม้ไผ่ หลังคามุงจากต่อมาในปี พ.ศ.2458 จึงได้สร้างวิหารเป็นอาคารถาวร ก่ออิฐถือปูน พร้อมหอระฆัง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2527 คริสตจักรตรังได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งโบสถ์จากคณะอเมริกันเพรสไปเทอเรียนมิชชั่น แล้วตั้งเป็นคริสตจักรภาคที่ 17 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533มีการสร้างอาคารนมัสการหลังใหม่ แต่วิหารหลังนี้ยังคงใช้ในการประกอบพิธีกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 

วิหาร คริสตจักรตรัง เป็นอาคารชั้นเดียว ขนาดเล็ก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบก่ออิฐระบบกำแพงรับน้ำหนัก ผนังหน้าอาคารสร้างบนฐานยกพื้นสูงประมาณ 0.80 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังอาคาร ผังพื้นอาคารเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ โถงระเบียงหน้า โถงชุมนุม และส่วนศักดิ์สิทธิ์อยู่ต่อจากโถงชุมนุมเป็นยกพื้นสูงด้านหน้าอาคารแบ่งเป็น 3 ช่วงเสา ช่วงเสากลางอาคารเป็นซุ้มโค้งทางเข้าวิหาร เหนือซุ้มโค้งมีปูนปั้นเขียนว่า วิหาร คริสศาสนาสร้าง ค.ศ.1915 ช่วงเสาด้านข้างด้านหนึ่งเป็นหอระฆังสูง 3 ชั้น ด้านข้างอาคารแบ่งเป็น 7 ช่วงเสา ทุกช่วงเสามีหน้าต่างไม้บานเปิดคู่ ส่วนด้านหลังอาคารแบ่งเป็น 2 ช่วงเสา มีประตูบานเปิดคู่ และบันไดทางขึ้นลง อยู่กึ่งกลางช่วงเสาทั้ง 2 หลังคา หอระฆังเป็นรูปทรงปิรามิด หลังคาโถงชุมนุมเป็นหลังคาจั่ว ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว การตกแต่งอาคารมีไม่มากส่วนใหญ่เป็นการเน้นด้วยลายปูนปั้นที่กรอบประตูหน้าต่าง 

ในปี พ.ศ. 2550 มีการบูรณะปรับปรุงวิหารครั้งใหญ่ และมีการติดตั้งอุปกรณ์อาคารเพิ่มเติม อาทิ เครื่องปรับอากาศและระบบไฟฟ้า การบูรณะสามารถรักษารูปแบบดั้งเดิมของตัวอาคาร คุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าสถาปัตยกรรมไว้ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน วิหาร คริสตจักรตรัง ยังคงใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ พร้อมทั้งยังดำเนินงานเพื่อสืบทอดศาสนาทั้งในด้านการศึกษาในการให้ถ่ายทอดความรู้ข้อพระคัมภีร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป  

Trang Church 

Location 24 Huoy Yod Road, Tambon Tab Tiang, Amphoe Mueang, Trang Province 

Proprietor Trang Church  

Date of Construction 1915 

Conservation Awarded 2009 

History 

Trang has a diverse ethnic population with a variety of religious. The Protestantism in Trang began in 1910 with the establishment of the announced station in the Tab Tiang Hospital, which was supported by the American missionaries before settling in the church two years later. 

In 1913, H.R.H. Prince Damrong Rajanubhab allowed the Church to buy land and build a church made from bamboo and atap thatching. Later in 1915, the bamboo church was rebuilt into a permanent building, with the belfry that had the old roof similar to the ancient military fortress. Later, It was later renovated to the style seen today. Above the entrance, there are carved letters saying “Christ sanctuary built in1372”. In 1984 Trang Church received the entire ownership from the American Presbyterian Mission, and then set the seventeenth church. 

Today, Trang Church is still used for various religious ceremonies. It has continually provided religious education based on biblical knowledge for the youth and general public. It also serves as a social centre for activities related to the medical profession by these three community network supporters; Tab Tiang Hospital, Anukoon Tab Tiang School, and Yuwarat Withaya School (now known as Trang Christian School). 

The church is single storey building with wall bearing structure. The floor of the church is raised 0.80 metre high. It is divided into 3 sections, the foyer, meeting hall and the sacred hall. The side of the building divided into 7 bays and 2 bays in the rear, with rear staircase between them. Between each bay are double swing windows. The roof of the bell tower has a pyramid shape, while the meeting hall has gable root top. The roofs are finished by kite shaped concrete roof tiles..