อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์

อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์

ที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ถนนสรศักดิ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้ครอบครอง กรมศิลปากร

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2548

ประวัติ

อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ (บ้านหลังเขียว) เดิมเป็นบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เมื่อครั้งที่ใช้พระที่นั่งในพระราชวังเป็นศาลากลาง และส่วนอุทยานใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ ต่อมาภายหลังบ้านพักดังกล่าวใช้เป็นที่พักของครูโรงเรียนลพบุรีวิทยา ของครูจำลอง ซึ่งมีโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกของวังนารายณ์ เมื่อโรงเรียนย้ายออกไป บ้านหลังนี้จึงถูกใช้เป็นบ้านพักเยาวชน โดยมีอาจารย์ขุน กงผล รับผิดชอบในช่วงปี พ.ศ. 2507 – 2511โดยให้เยาวชนชาวต่างชาติเข้าพักค้างคืน

ภายหลังปี พ.ศ. 2511 บ้านหลังเขียวได้ใช้เป็นที่พักของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรพักอาศัย และต่อมาได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมใช้เป็นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปี 2536 โดยได้รับงบประมาณอนุรักษ์และพัฒนา และปัจจุบันจึงใช้เป็นอาคารสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์

ตัวอาคารเป็นอาคารไม้สักทอง 2 ชั้นยกพื้นสูง หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าว ด้านหน้าทำมุขและระเบียงตลอดแนวอาคารตรงกลางเป็นห้องโถงมีบันไดเวียนขึ้นชั้นบน ปีกอาคาร 2 ข้าง กั้นเป็นห้องสำหรับใช้สอยทั้ง 2 ชั้น ผนังของอาคารเป็นรางไม้ลิ้น ทำช่องประตูด้านหน้าโดยรอบ ด้านหลังมีอาคารไม้ขนาดเล็กเป็นอาคารบริวารอีก 1 หลัง

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ยังคงดูแลรักษาอาคารสำนักงานเป็นอย่างดี และถือว่าเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ที่ควรได้รับการอนุรักษ์สืบต่อไป

 

Somdet Phra Narai National Museum Office

Location Somdet Pra Narai National museum, Sorasak Road ,Tam bon Tha Hin, Amphoe Mueang, Lop Buri

Province Proprietor Find Arts Department

Conservation Awarded 2005

History

Somdet Pra Narai national museum’s office, once, was th. 2507 – 2511โดยให้เยาวชน – ชาวต่างชาติเข้าพักค้างคืนe Lopburi governor’s house. Back then, throne hall was used as town hall and the park area was a correctional facility. Then, it was used as Lopburi Witthaya school teacher’s residence. After the school had moved, it was turned into a youth hostel. In 1968, it became a residence for Fine Arts department authority. And in 1993 it was renovated and changed into the museum office until today.

The building structure was made of teak with raised floor, hipped roof and kite shaped concrete roof tiles. It has balcony all along the building. In the main hall there is a winder staircase. Both wings of the building were made into rooms on both floors. On the wall, it was found wooden gooving for sliding doors and windows.