อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้ง 239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ สล่าชาวพม่าและวิศวกรชาวตะวันตก

ผู้ครอบครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปีที่สร้าง ประมาณ พ.ศ. 2465

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2536

ประวัติ

 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ระบบโครงสร้างเสา คาน และอิฐก่อรับน้ำหนัก รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล องค์ประกอบต่างๆ ของอาคารที่เห็นในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นของเดิมซึ่งอยู่ในสภาพดี อาทิ พื้น วงกบประตู หน้าต่างซึ่งเป็นไม้สักทั้งหมด

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ระบบโครงสร้างเสา คาน และอิฐก่อรับน้ำหนัก รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล องค์ประกอบต่างๆ ของอาคารที่เห็นในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นของเดิมซึ่งอยู่ในสภาพดี อาทิ พื้น วงกบประตู หน้าต่างซึ่งเป็นไม้สักทั้งหมด

อาคารนี้แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักอาศัยของนายอาเธอร์ ไลออนเนล เคอริเปล์ ชาวอังกฤษซึ่งหลักฐานบางแห่งกล่าวว่าทำงานอยู่กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มา(Bombay Burma Trading Company) ซึ่งได้รับสัมปทานตัดไม้สักทางทิศตะวันออกของเชียงใหม่ น่าน และแพร่ นายเคอริเปล์ให้สล่าชาวพม่าสร้างบ้านขึ้นโดยมีวิศวกรเป็นชาวตะวันตก เริ่มก่อสร้างราวปี พ.ศ. 2465

นายเคอริเปล์และครอบครัวได้พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มาจนกระทั่งประมาณพ.ศ. 2502 ก็ได้ย้ายออกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และบ้านก็ถูกทิ้งร้าง

ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามายึดบ้านหลังนี้เป็นกองบัญชาการ และได้ฝังกับระเบิดไว้มากมาย หลังสงครามบ้านก็ถูกทิ้งร้างอีกครั้ง จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 ก็ถูกเวนคืนให้เป็นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งใน พ.ศ. 2524 ทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นที่ทำการของสถาบันวิจัยสังคม และใน พ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนเป็นที่การของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การปรับปรุงอาคารครั้งใหญ่ช่วงปีพ.ศ. 2506-2537 มีการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาจากกระเบื้องดินขอเป็นกระเบื้องซีเมนต์ รื้อบันไดที่ทอดจากระเบียงชั้น 2 ด้านหลังออก เพิ่มห้องน้ำ 2 ห้อง โดยปรับปรุงจากห้องเก็บของเดิม และเพิ่มเสาหลอกด้านหน้า

 

Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

Location 239 Huai Kaew Road, Amphoe Mueang, Chiang Mai Province

Architect/Designer A Burmese craftsman and Western engineer

Proprietor Chiang Mai University

Date of Construction 1922 AD

Conservation Awarded 1993 AD

History

The Center for Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University is located in a Colonial style building. Its original elements have been mainly well-conserved such as the floor, window and door frames and panels, all are made of teakwood.

This building was originally built as a residence for Mr. Arthur Lionel Queripel and his family. Some documents mentioned him as a member of the Bombay Burma Trading Company who held a concession for teak-cutting in eastern Chiang Mai, Nan and Phrae. Mr. Queripel had his house built by Burmese craftsman and a western engineer. Construction began circa 1922 AD.

Mr. Queripel and family lived in this house until 1959. The cause of their move was not known. The house had been deserted until 1959. The cause of their move was not known. The house had been deserted until WW II, when the Japanese troops look over it as barracks. The house was left unused again after the war. In 1963, the house was expropriated and became a property of Chiang Mai University. The university had the building restored and rehabilitated as an office of Social Research Institute in 1981, and changed to the office of the Center for Promotion of Arts and Culture in 1994.