อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

กลุ่มพระราชมณเฑียรสถาน พระราชวังพญาไท

กลุ่มพระราชมณเฑียรสถาน พระราชวังพญาไท

ที่ตั้ง ถนนราชวิถี เขตพญาไท กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamgno) ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์

ผู้ครอบครอง ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453 - 2465

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2527

ประวัติ

พระราชวังพญาไท เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับในเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาส “นาหลวงคลองพญาไท” คือพื้นที่ทุ่งสามเสนต่อกับทุ่งพญาไทในสมัยนั้น เมื่อแรกสร้างทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “พระตำหนักพญาไท” เนื่องจากทรงถือเป็นที่ประทับชั่วคราว ส่วนพระตำหนักและพระที่นั่งที่สร้างขึ้นก็มีลักษณะที่ไม่ได้ใหญ่โตหรูหรามากนัก หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเศร้าโศกมากทำให้พระพลานามัยอ่อนแอลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทูลเชิญเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักพญาไท และทรงประทับอยู่จนสวรรคตในปีพ.ศ. 2463 ระหว่างนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งและพระตำหนักเพิ่มเติมในช่วงปีพ.ศ. 2453-2465 และได้พระราชทานนามตามลำดับคล้องจองกัน ได้แก่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระนั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ (ท้องพระโรงเดิม) พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ (ตึกคลังเก่า) พระที่นั่งที่เป็นประธานอยุ่ในกลางคือพระที่นั่งพิมานจักร ส่วนพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ซึ่งเคยเป็นที่ทรงพระอักษรมาแต่เดิมนั้นทรงพระราชทานนามใหม่ว่า พระตำหนักเมขลารูจี สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งต่างๆ เป็นแบบโรแมนติก ออกแบบโดยสถาปนิกฝรั่ง ที่ปรากฏชื่อคือนายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ส่วนพระที่นั่งอื่นๆไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตัวอาคารมีการตกแต่งด้วยปูนปั้น ไม้แกะสลัก หลังคาของพระที่นั่งบางหลังเป็นโดมแหลมสูง การตกแต่งภายในเป็นปูนปั้นและจิตรกรรมปูนเปียก โดยภาพรวมมีความแปลกน่าตื่นใจ และงดงามด้วยฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต ภายในบริเวณพระราชวังมีภูมิสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ สวนโรมัน ซึ่งเป็นสวนแบบโรแมนติกเช่นกัน หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตได้มีการปรับปรุงพระราชวังเป็น “โรงแรมพญาไท” เป็นที่ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สังกัดศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก พระที่นั่งต่างๆ ได้รับการบูรณะและดูแลเป็นอย่างดี และยังใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาล

 

Phayathai Palace

Location Ratchawithi Road, Khet Phaya Thai, Bangkok

Architect/Designer Mr. Mario Tamagno designed Thewarat Sapharom Hall

Proprietor Pramongkutklao Medicine Center, Royal Thai Army Medical Department

Date of Construction 1910 - 1922 AD.

Conservation Awarded 1984 AD.

History

Phayathai Palace was initially built by King Rama V as his countryside resort for his visit to the royal paddy fields in Phayathai area. The buildings in that period were small and simple, as the King considered it a temporary residence. After Rama V passed away in 1910, Queen Si Patcharinthra was so mournful that her health was affected, King Rama VI, her son, thus invited her to stay at Phayathai where she lived and passed away in 1920. Meanwhile, during 1910 – 1922, the King had permanent halls built and when complete he named them, Waikunthephayasathan, Phimanchakri, Sisutthaniwat, Thewaratsapharom, and Undomwanaphon Pavilion where he used as his study as Mekhalaruchie. The architecture of halls are Romantic style designed by European architects, one of them is Mr. Mario Tagmano who designed The waratsapharom Hall. However, designers of other halls are unknown. The halls are decorated with stuccos and woodcarvings. Some halls are with high domed roof. The interiors are decorated with frescos and stuccos. Overall, the palace is picturesque, exciting, extraordinary and elaborate with fine craftsmanship. There is also a historic landscape in the compound, that is, the Roman Garden, which is also in Romantic style. After King Rama VI’s reign, the palace has been rehabilitated as a hotel called “Hotel Phatahai”, a government broadcasting station “PJ 7” and the Pramongkutklao Medicine Center consecutively. It is now known as “Pramongkutklao Hospital”. The halls have been renovated to serve the hospital’s uses.